1669 | โรงพยาบาลโนนสุวรรณ |  สถิติเข้าชม 670435คน

HEALTH บทความสุขภาพ

  • มนุษย์ออฟฟิศกับโรคที่ต้องระวัง วันที่ 2016-10-04 | โดยวัชรเทพ จันทร์มณี  



    หนีไม่พ้นที่มนุษย์ออฟฟิศส่วนใหญ่ต้องทำงานผ่านอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ทั้งหลาย เช่นคอมพิวเตอร์ แท็บเล็ต หรือแม้แต่โทรศัพท์มือถือ
    โรคคอมพิวเตอร์วิชั่นซินโดรม กลุ่มที่ต้องระวังคือคนที่ทำงานอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์ติดต่อกันนานเกิน 2 ชั่วโมง โดยไม่พักสายตา โดยจุดสังเกตก็คือ ดวงตาล้าดวงตาแห้ง รู้สึกแสบตา และดวงตาไม่สามารถสู้แสงหรือโฟกัสได้ ทั้งนี้อาจมีอาการปวดหัว คอ และบ่าร่วมด้วย ส่วนสาเหตุมาจากการใช้คอมพิวเตอร์ที่มีหน้าจอสว่างมากเกินไป การมองหน้าจอคอมพิวเตอร์ใกล้และเป็นระยะเวลานานโดยไม่มีการพักสายตา รวมถึงการมองหน้าจอคอมพิวเตอร์ในระดับที่ไม่เหมาะสมกับระดับสายตา
    การป้องกันและการรักษา คือการพักสายตาบ่อยๆ และหมั่นกะพริบตา อีกทั้งปรับความสว่างของแสงบนหน้าจอคอมพิวเตอร์ให้เหมาะสม
    มือก็เป็นอีกหนึ่งอวัยวะที่พนักงานออฟฟิศต้องใช้งานแทบทั้งวัน จึงทำให้เกิดโรคที่เกิดจากการใช้งานมือเป็นเวลานานเช่นกัน นั่นคือ โรคการกดทับเส้นประสาทบริเวณข้อมือ กลุ่มที่ต้องระวังคือคนที่ต้องใช้คอมพิวเตอร์ทำงาน หรือคนที่ใช้ข้อมือหนัก
    โดยจุดสังเกตก็คือ อาการชา หรือปวดที่บริเวณนิ้วมือ ฝ่ามือ ลามไปถึงหัวไหล่ โดยอาการมักจะเกิดตอนที่ใช้ข้อมือหนักๆ จนทำให้กล้ามเนื้อมืออ่อนแรง ไม่สามารถกำมือได้แน่น และสาเหตุมาจากการใช้ข้อมือในท่าทางเดิมเป็นประจำ มีการใช้ข้อมือหนักๆ เช่น เวลาพิมพ์คีย์บอร์ด หรือตอนควบคุมเมาส์โดยข้อมือเสียดสีกับพื้นโต๊ะตลอดเวลา
    การป้องกันและการรักษา ถ้าหากอาการยังไม่รุนแรง เบื้องต้นให้ลองปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้มือ หาอุปกรณ์มารองรับ ทำการประคบร้อน กดนวดบริเวณพังผืดที่กดทับเส้นประสาท หรือยืดเส้นประสาท
    พนักงานออฟฟิศยังนั่งทำงานเป็นระยะเวลานานจนทำให้เกิดโรคที่เกี่ยวกับคอและหลัง รวมถึงโรคหมอนรองกระดูกคอเสื่อม
    ส่วนกลุ่มที่ต้องระวัง คือคนที่ต้องนั่งทำงานเป็นระยะเวลานาน หรือคนที่มีพฤติกรรมชอบบิดคอ หมุนคอ จุดสังเกต มักเป็นการปวดบริเวณคอ ไหล่ และบ่า บางครั้งอาจมีอาการปวดร่วมกันจนทำให้อาการหนักขึ้น คือลามไปกดทับเส้นประสาท ทำให้อาการปวดลามไปถึงแขน เริ่มมีอาการชา กล้ามเนื้ออ่อนแรง และหากไปกดทับหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงสมองจะทำให้รู้สึกปวดหัว ปวดกระบอกตา รู้สึกบ้านหมุน
    สาเหตุของโรคเกิดจากพฤติกรรมการใช้คอและกล้ามเนื้อแผ่นหลังที่ผิดลักษณะ เช่น การบิดคอ การนั่งก้มหน้าทำงานเป็นระยะเวลานานโดยไม่มีการเคลื่อนไหวใดๆ การป้องกันและการรักษาทำได้ คือหากต้องนั่งทำงานเป็นระยะเวลานานให้ลองปรับเปลี่ยนพฤติกรรมโดยหมั่นยืดกล้ามเนื้อบ่อยๆ ไม่ควรโน้มศีรษะอ่านหนังสือเป็นเวลานานเพราะจะทำให้กล้ามเนื้อบริเวณคอทำงานหนักกว่าปกติ แต่ควรยกหนังสือให้ตั้งขึ้นในระดับสายตาแทน นอกจากความเจ็บป่วยทางร่างกายก็ยังมีความเครียดและภาวะกดดันจากการทำงาน จนทำให้เกิดโรคที่เกี่ยวข้องกับภาวะจิตใจและสมอง เช่น โรคสมาธิสั้นจากการทำงาน โดยกลุ่มที่ต้องระวังก็คือ มนุษย์ออฟฟิศทุกคน
    จุดสังเกตคือ การไม่สามารถจดจ่อกับอะไรบางอย่างได้นาน ความอดทนต่ำ ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ แก้ไขปัญหา ความคิดสร้างสรรค์ การแบ่งเวลา และจัดลำดับความสำคัญต่อสิ่งต่างๆ ลดลง รวมถึงมีอาการเครียด กังวล และคิดถึงปัญหาอยู่ตลอดเวลาโดยไม่แสดงออก ขณะที่สาเหตุนั้นมาจาก สภาพแวดล้อมในการทำงานที่บีบคั้นและวุ่นวาย ต้องรับผิดชอบและทำงานหลายอย่างพร้อมกับในเวลาเดียว วิธีป้องกันและการรักษาทำได้ง่ายๆ คือการพักผ่อน หรือเปลี่ยนอิริยาบถหากรู้สึกว่าทำงานติดต่อกันเป็นระยะเวลานานและควรมีปฏิสัมพันธ์กับคนรอบข้าง รวมถึงพยายามจัดลำดับความสำคัญ แบ่งเวลาให้กับการทำงานอย่างเหมาะสม

    ที่มา: หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ
    ที่มา http://www.thaihealth.or.th/



  • 1.
  • บอกลา 7 เมนูฮิตสงกรานต์ซ่อนโรคเรื่องโดย : นายฉัตร์ชัย นกดี team content www.thaihealth.or.th
    ขอบคุณข้อมูลจาก เว็บไซต์เติมสุข http://bit.ly/2nRV0RG
    ภาพประกอบจากแฟ้มภาพ
    ช่วงเทศกาลสงกรานต์ผู้คนส่วนใหญ่ มักจะออกเดินทางไปท่องเที่ยวตามสถานที...
    วันที่ 2016-10-04 | โดยวัชรเทพ จันทร์มณี

  • 2.
  • มนุษย์ออฟฟิศกับโรคที่ต้องระวัง หนีไม่พ้นที่มนุษย์ออฟฟิศส่วนใหญ่ต้องทำงานผ่านอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ทั้งหลาย เช่นคอมพิวเตอร์ แท็บเล็ต หรือแม้แต่โทรศัพท์มือถือ
    โรคคอมพิวเตอร์วิชั่นซินโดรม กลุ่มที่ต้องระ...
    วันที่ 2016-10-04 | โดยวัชรเทพ จันทร์มณี

  • 3.
  • 5 วิธีงดเหล้า?พักตับ?ครบพรรษาการงดดื่มเหล้าช่วงเข้าพรรษาเป็นเวลา 3 เดือนนี้ นอกจากจะเป็นการปฏิบัติบูชาต่อพระพุทธศาสนาแล้ว ก็ยังเป็นโอกาสที่จะเริ่มต้นทำสิ่งดีๆ ในชีวิตได้อีกมากมาย

    วงการงดเหล้าเข้าพร...
    วันที่ 2016-10-04 | โดยวัชรเทพ จันทร์มณี

  • 5.
  • เลี้ยงลูกยังไง ในยุคดิจิทัลปัจจุบันเด็กจำนวนมากมีพฤติกรรมก้าวร้าว ขาดสมาธิในการเรียน ขาดปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนในวัยเดียวกัน และ สมาธิสั้นเทียม เพราะหมกมุ่นกับการใช้เทคโนโลยี เมื่อเร็วๆ นี้จึงมีการเสวน...
    วันที่ 2016-10-04 | โดยวัชรเทพ จันทร์มณี

HEALTH LIST

Top